" กิน ผ่าน วัฒนธรรม " (牛丼) ข้าวหน้าเนื้อ ( Gyūdon Beef Rice Bowl ) 🍱 ..🦔🥢 . . ● ω ● ♬ ♫
เป็นเมนู Donburi ที่นิยมมากของชาวญี่ปุ่น ดูเป็นเมนูอาหารญี่ปุ่นง่าย ๆ หน้าตาเป็นข้าวญี่ปุ่นใส่ถ้วยหรือเบนโต๊ะ มีเนื้อชิ้นพอดีคำ ผัดกับหอมใหญ่ซอย ทำให้มีรสหวาน ปรุงด้วยน้ำดาชิ สต๊อกปลา และ สต๊อกสาหร่ายทะเล ตามด้วยซอสมิริน ( ซอสญี่ปุ่น ) หรือ ไวน์ข้าว บางที่อาจมีไข่ผัดอยู่ด้วย หรือ ถ้าบางคนชอบทานแบบเพิ่มไข่ออนเซ็น (ไข่ลวก) ทานคู่กับซุปมิโสะ เป็นเมนูโปรดเมนูนึงของดาเลยค่ะ
แต่ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนชอบทานเผ็ด ๆ ขึ้นมาอีกระดับ ก็เติมพริกป่นได้ค่ะ เพิ่มความเผ็ดร้อนได้นิดนึง
หรือ ถ้าบางคนไม่ชอบทานหวาน ๆ หรือ ไม่ชอบเลี่ยน ๆ ขิงดองช่วยได้ค่ะ
ก็ได้พบกับความลงตัวที่แสนอร่อย ... รสชาติธรรมดา ๆ ที่อบอุ่น
เนื้อนุ่ม ๆ ละมุนไปทั่วทั้งปาก หอม และ หวาน หอมใหญ่ที่ผัดกับน้ำซอสสไตล์ญี่ปุ่น
ดาเป็นคนชอบอาหารออก รสหวาน รสจืด รสอ่อน ๆ แต่กลมกล่อม อูมามิค่ะ
อย่างแบบไม่ต้องเติมอะไรเลย ... สุดยอดค่ะ
ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนที่ชอบทานรสจัด หรือ ออกเผ็ดร้อนนิด ๆ ก็ตามที่บอกค่ะพริกป่นช่วยได้
ประวัติ (牛丼) ข้าวหน้าเนื้อ ( Gyūdon Beef Rice Bowl ) 🍱 🥢
เป็นเมนู Donburi จากหลาย ๆ เมนูสัญชาติญี่ปุ่นที่เป็นนิยม ทั้งในประเทศญี่ปุ่น และ ในไทยค่ะ
(牛丼) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ข้าวหน้าเนื้อ
มาจากคำว่า 牛 กิว ที่แปลว่า วัว หรือ เนื้อ
และคำว่า 丼 ดง ที่มาจากคำว่า ดงบูริ ( Donburi ) ที่แปลว่า ถ้วย หรือ ฉาม ค่ะ
ส่วนผสมในการทำ ก็ตามที่บอกไว้ข้างบนเลยค่ะ
เป็นข้าวญี่ปุ่นใส่ถ้วย หรือ เบนโต๊ะ มีเนื้อชิ้นพอดีคำ ผัดกับหอมใหญ่ซอย ทำให้มีรสหวาน
ปรุงด้วยน้ำดาชิ สต๊อกปลา และ สต๊อกสาหร่ายทะเล ตามด้วยซอสมิริน ( ซอสญี่ปุ่น ) หรือ ไวน์ข้าว
ส่วนผสมและวิธีทำทานเอง จะใส่ link ไว้ให้ด้านล่างนะคะ พร้อมกับร้านแนะนำค่ะ
ความเป็นมา 🦔🥢
Donburi ดงบูริ หรือ ดง เป็นอาหารที่มีรูปแบบเฉพาะตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
เริ่มปรากฏให้เห็น ในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868 ) ของประเทศญี่ปุ่น
ข้าวหน้าแรก คือ อูนางิดง (ปลาไหลย่างที่วางอยู่บนชามข้าวปรุงสุก)
ซึ่งในระยะแรก ดงบูริเป็นอาหารง่าย ๆ ใช้ชามขนาดเล็ก มีความสำคัญอยู่ที่ความรวดเร็ว
และ รับรองผู้เร่งรีบ จึงเป็นที่นิยมตามโรงละคร หรือ ลานแสดงตามงานเทศกาล
ดงบูริเป็นที่แพร่หลาย และ กลายเป็นที่นิยมมากตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา
ในสมัยต่อมาด้วยความนิยม ก็มีข้าวหน้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาก เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ และ ไข่
นั้นเกิดขึ้นยุคเมจิ ( ค.ศ. 1868 - ค.ศ. 1912 ) ซึ่งมาพร้อมกับการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก
และ การคัดสรรถ้วยชามที่ประณีตมากขึ้นในการตกแต่งอาหาร
ส่งดงบูริ หรือ ข้าวหน้าที่เป็น ไข่ และ ไก่ สันนิษฐานว่าเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1891
ส่วนข้าวหน้าหมู หรือ คัตสึดง แพร่หลายในญี่ปุ่นช่วงราว ค.ศ. 1913 หรือ ในยุคไทโช
และ ข้าวหน้าต่าง ๆ ได้มีการขยายขนาดชามใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อใหม่ ๆ
หรือ การปรุงสุกแบบต่าง ๆ ไปตามยุคสมัย และ กาลเวลา
ทุกวันนี้ดงบูริยังคงเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทั่วไปตามร้านอาหารในประเทศญี่ปุ่น
และ ประเทศต่าง ๆ และ เยอะมากในประเทศไทย รวมไปถึง การส่งออกเป็นอาหารสำเร็จรูป
อาหารแช่แข็ง ก็ตาม และ ยังหาทานได้ง่าย ๆ ตามร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นในประเทศต่าง ๆ ด้วยค่ะ
เมนูดงบูริหน้าต่าง ๆ 🍱🥢
กิวดง (牛丼) : เนื้อวัว และ หัวหอม บนข้าวสวย
เท็นดง (天丼) : เท็มปูระกุ้ง และ ผัก บนข้าวสวย
อูนาดง (鰻丼) : ปลาไหลย่าง บนข้าวสวย
ทามาโงดง (玉子丼) : ไข่กวน ผสม กับ ซอสดงบูริหวาน บนข้าวสวย
โอยาโกดง (親子丼) : ไก่ตุ๋น ไข่ และ หัวหอม บนข้าวสวย
คัตสึดง (カツ丼) : หมูแผ่นชุบเกล็ดขนมปังทอด ( ทงคัตสึ ), หัวหอม และไข่ บนข้าวสวย
เท็กกาดง (鉄火丼) : ปลาทูน่า เฉือนบางบนข้าวสวย อาจเป็นเท็กกาดงแบบธรรมดาหรือแบบเผ็ด
เนงิโตโรดง (ネギトロ丼) : ทูน่ามันหั่นลูกเต๋า และ ต้นหอม บนข้าวสวย
เท็นชินดง หรือ เท็นชิงฮัง (天津丼 / 天津飯): ดัดแปลงมาจากจีน, เป็นเนื้อปูเจียวไข่ บนข้าวสวย
นอกจากนี้ ดงบูริสามารถทำจากวัตถุดิบมากมาย แล้วแต่จะดัดแปลงเลยค่ะ ซึ่งร้านอาหารจีนราคาย่อมเยาในญี่ปุ่นมักจะนำเสนอ ชูกาดง (中華丼) หรือ โกโมกูชูกาดง (五目中華丼)—สารพัดผัดผักกับเนื้อบนข้าวสวยในชามขนาดใหญ่ ความเป็นมาก็ประมาณนี้ค่ะ ว่าง ๆ ก็อยากชวนเพื่อน ๆ มากินผ่านวัฒนธรรมกันค่ะ
ได้รู้จักวัฒนธรรมและความเป็นมาของเมนูที่ชอบกันแล้ว พักสายตา เติมความสดชื่นกันค่ะ
เพิ่มความญี่ปุ่นเข้าไปอีกด้วยโฮจิฉะเย็น (Iced Hojicha) หอม รสชาติกะลังดีเลยค่ะ เป็นวันที่สดชื่นค่ะ
ร้านแนะนำค่ะ Kafae Tuktheaw ตึกแถว
ร้านนี้น่ารักมากเวอร์ Japanese Retro Cafe. จัดร้านเป็นญี่ปุ่นย้อนยุก เต็มไปด้วยตัวการ์ตูน
ของสะสม ของเล่นในร้าน ล้วนเป็นของหายาก "พาคนที่เดินเข้ามาย้อนไปวัยเด็กโดยไม่รู้ตัวเลยค่ะ"
ร้านชิว ๆ น่านั้ง น่ากิน น่าถ่ายภาพ ที่สุด คือ น่ารัก ชิกสุด ๆ คือ ความน่ารักของความเป็นเด็ก
ในใจของพวกผู้ใหญ่ ของวัยที่กำลังเติปโตสู่สังคมทำงาน . . . .... ● ω ●♬ ♫
ร้านนี้ดึงดููดความเป็นเด็กในตัวคนผ่านไปผ่านมาได้ดีมาก มันจะดูย้อนกลับไปวัยเด็ก
ที่เรามีเวลาได้ดูการ์ตูน หยุด และ นึกถึงตัวการ์ตูนที่เราอาจลืมไปเพราะความวุ่นวายของแต่ล่ะวัน
ของเล่น ของตกแต่ง รวมทั้งของหายากจากญี่ปุ่น ตกแต่งรอให้เราผ่านมาผ่อนคลายจิตใจ
เต็มร้านไปหมด น่าตื่นตาตื่นใจมาก จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใหญ่ และ เด็ก ๆ เสมอ
ต้องยกให้ร้านนี้เลย กาแฟตึกแถวพัฒนาการ 30
Kafae Tuktheaw ตึกแถว
coffee I dessert I leisure ร้านตึกแถว พัฒนาการ 30
ร้านอยู่ต้นซอย ติดกับร้านก๋วยเตี๋ยวเจริญพุง
พื้นที่เล็ก ๆ ที่อยากให้คุณได้มา แฮงเอาท์ นั่งชิว ถ่ายรูปเล่น
คุยงาน มาประชุม จิบเครื่องดื่ม กินขนม ชมของเล่น เสพของสะสม
Open 7:30 AM
Close 7:30 PM
🚗 》》》 สามารถจอดรถยนต์ได้หลังตึก 《《《 🚗
ใครอยากลองทำทานเองที่บ้าน ก็มี link วิธีทำ พร้อมส่วนผสมมาฝากด้วยค่ะ
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=mitsubachi&month=03-2016&date=15&group=337&gblog=20
Comments